มีกระแสข่าว กระทรวงการคลัง เตรียมนำกฎหมายเก็บภาษีลาภลอย กลับมาพิจารณาอีกครั้ง โบรกคาดยังใช้เวลาอีกนานจนกว่าจะมีผลบังคับใช้ และกระทบธุรกิจอสังหาบางส่วน
กระทรวงการคลัง ชี้ ปีหน้าเก็บภาษีลาภลอย
“ขุนคลัง” ชงครม.เคาะร่างกม.ภาษีลาภลอย
จากกรณีมีรายข่าวว่า กระทรวงการคลัง เตรียมกลับมาผลักดันกฎหมายภาษีลาภลอย (Windfall Tax) โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปศึกษาและพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยเมื่อเดือน ก.ค. 2561 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์จากกการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ พ.ศ.2561 หรือภาษีลาภลอย แต่กฎหมายนี้ยังไม่มีการผลักดันต่อในขณะนั้น
ภาษีลาภลอย ถือเป็นภาระภาษีตัวใหม่ที่ทางรัฐบาลมีแผนจะจัดเก็บ โดยกำหนดจัดเก็บภาษีจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น และมีการซื้อ-ขายเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในอัตราเพดาน 5% ของมูลค่าส่วนเพิ่ม ซึ่งเล็งเป้าหมายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากตัวสถานีขึ้น-ลงขนส่งมวลชน ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ท่าเรือ สนามบิน โครงการทางด่วนพิเศษ และโครงการอื่น ๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งภาษนี้จะจัดเก็บเฉพาะราคาที่ดินปรับสูงขึ้นจากผลของโครงการสาธารณูปโภค และหักมูลค่าอาคารออกไป
การจัดเก็บภาษีแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงแรก ตั้งแต่วันลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคนั้น ๆ จนถึงวันตรวจรับมอบโครงการ ในช่วงนี้จะมีการจัดเก็บภาษีทุกครั้งที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ (เฉพาะมูลค่าที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้น)
- ช่วงที่สอง เป็นช่วงที่โครงการสาธารณูปโภคก่อสร้างเสร็จ จะจัดเก็บภาษีครั้งเดียว ไม่ได้เก็บทุกครั้งที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ
ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส วิเคราะห์ว่า การผลักดันกฎหมายภาษีลาภลอยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่ สศค. พิจารณาและเห็นชอบ ยังต้องนำเข้าสู่วาระการประชุมครม. และส่งให้คณะกรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย จากนั้นนำส่งสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณา 3 วาระ ก่อนจะนำเข้าทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้กฎหมาย
ทั้งนี้ ภาษีลาภลอย เป็นวิธีจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเดิมมีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว หากกฎหมายดังกล่าวทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับสูงขึ้น คาดว่าภาษีทั้งหมดนี้ก็จะถูกรวมอยู่ในราคาซื้อขายอสังหา ซึ่งเป็นฐานภาษีอยู่แล้ว
ขณะที่ ผลกระทบต่อกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มองว่าธุรกิจแนวราบแทบไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ใกล้รถไฟฟ้า/ขนส่งมวลชน และรัฐบาลกำหนดจัดเก็บภาษีที่เกิดขึ้นจากมูลค่าที่ปรับเพิ่มขึ้น เฉพาะที่ดิน หรือคอนโดมิเนียม ที่มีพื้นที่ ๆ ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่ารวมเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยยกเว้นที่ดินที่อยู่อาศัย
ส่วนคอนโดมิเนียม อาจได้รับผลกระทบเฉพาะโครงการที่ใกล้รถไฟฟ้า และที่ประกอบธุรกิจแบบมิกซ์ยูส (Mixed use) โดยมีพื้นที่พาณิชยกรรม แต่ไม่ใช่ทุกโครงการที่มีพื้นที่ดังกล่าว
ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพาณิชยกรรม อาจจะได้รับผลกระทบมากที่สุด หากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้จริง
ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า กฎหมายภาษีลาภลอย ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะมีผลบังคับใช้ และเป็นการเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนกับภาษีเดิม อย่างธุรกิจเฉพาะ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงการจัดเก็บเฉพาะในส่วนของมูลค่าที่ดิน
นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ ๆ มีการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานใหม่เท่านั้น ไม่รวมถึงสาธารณูปโภคเดิมที่มีอยู่เดิม
“สิงห์ เอสเตท” ทุ่ม 3.2 หมื่นล้านบาท รุกบ้านเดี่ยวแนวราบระดับลักชัวรี่
คลัง เคาะเปิดทะเบียนบัตรคนจนรอบใหม่ เดือนสิงหาคมนี้
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline