เกษตร อสังหา การเงิน อุ้มเศรษฐกิจ 21 จังหวัดรอดวิกฤตโควิด

ส่งหน้านี้ให้เพื่อน

ประกันรายได้เกษตรกร

คอลัมน์ : เช้านี้ที่ซอยอารืย์  ผู้เขียน : พงศ์นคร โภชากรณ์   [email protected]

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภูมิภาค หรือ gross regional product (GRP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด หรือ gross provincial product (GPP) ของปี 2563 ออกมา

แม้ข้อมูลชุดนี้จะออกมาช้ากว่าปีปัจจุบันพอสมควร แต่มีคุณค่าแก่การวิเคราะห์อย่างมาก เพราะข้อมูลชุดนี้จะทำให้เราทราบว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ซึ่งวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ gross domestic product (GDP) ที่หดตัวถึงร้อยละ -6.2 นั้น เกิดจากการหดตัวในระดับภูมิภาคและระดับจังหวัดมากน้อยเพียงใด

  • ประวัติปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สู้คดีลวนลามผู้หญิง
  • พยากรณ์อากาศ กรมอุตุฯเตือนช่วง 11-14 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ลมแรง
  • อู๋ spin9 รีวิว Test&Go ที่สุวรรณภูมิ ผู้โดยสารส่ายหัว บ่นทนไม่ไหว

หากวิเคราะห์เป็นรายภูมิภาค จะพบว่า ภูมิภาคที่หดตัวรุนแรง ได้แก่ ภาคใต้ หดตัวร้อยละ -12.3 รองลงมา ได้แก่ กทม.และปริมณฑล หดตัวร้อยละ -6.7 ภาคตะวันออก หดตัวร้อยละ -6.1

ภาคเหนือ หดตัวร้อยละ -5.1 และภาคตะวันตก หดตัวร้อยละ -4.7 ส่วนภูมิภาคที่หดตัวน้อย ได้แก่ ภาคกลาง หดตัวร้อยละ -3.1 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หดตัวร้อยละ -1.4

ต่อมาวิเคราะห์เป็นรายจังหวัด (ดูแผนที่ประกอบ) จะพบว่า จังหวัดที่หดตัวมีอยู่ 56 จังหวัด (มี GPP รวมกันสูงถึง 13.9 ล้านล้านบาท) ที่หดตัวรุนแรงที่สุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ ภูเก็ตร้อยละ -41.3 พังงาร้อยละ -28.9 กระบี่ร้อยละ -19.7 สมุทรปราการร้อยละ -16.1 และสุราษฎร์ธานีร้อยละ -15.6

นอกจากนี้ ยังพบว่า หลายจังหวัดเผชิญการหดตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย

ขณะที่จังหวัดที่ยังคงมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกได้ มีอยู่ 21 จังหวัด (มี GPP รวมกันเพียง 1.7 ล้านล้านบาท) ที่ขยายตัวสูงสุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ ระนองร้อยละ 6.6 จันทบุรีร้อยละ 6.1 สตูลร้อยละ 4.5 นครพนมร้อยละ 3.2 และศรีสะเกษร้อยละ 2.9

จากการวิเคราะห์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและโครงสร้างของเศรษฐกิจจังหวัดประกอบกัน ทำให้เราพบข้อสรุปเบื้องต้นว่า

1) จังหวัดที่มีการหดตัวของเศรษฐกิจ เกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ สาขาท่องเที่ยวหดตัว (ที่พักแรมและร้านอาหาร และคมนาคมขนส่ง) โดยเฉพาะจังหวัดที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ เชียงใหม่ เป็นต้น หรือสาขาอุตสาหกรรมหดตัวเพราะความต้องการซื้อชะลอตัวตามรายได้ เช่น ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น หรือทั้งสาขาท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมหดตัวพร้อมกัน เช่น ชลบุรี ระยอง เป็นต้น

2) จังหวัดที่มีการขยายตัวของเศรษฐกิจ เกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ สาขาการเกษตรขยายตัวสูง เช่น ระนอง สตูล จันทบุรี อุบลราชธานี เป็นต้น หรือสาขาอสังหาริมทรัพย์และสาขาการเงินขยายตัว เช่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น หรือทั้งสาขาการเกษตร อสังหาริมทรัพย์ และสาขาการเงินขยายตัวพร้อมกัน เช่น ศรีสะเกษ หนองคาย เป็นต้น

ดังนั้น การเติบโตจากภายในจึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดยามเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจที่มาจากภายนอกประเทศ

QR Code LINE@ Prachachat

ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น

เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

ติดตามข่าวธุรกิจ


ส่งหน้านี้ให้เพื่อน