56 บจ.ไฮบอนด์ยีลด์ครบดีลปีนี้ มูลค่ารวม 7.5 หมื่นลบ.

ส่งหน้านี้ให้เพื่อน

พบ 56 บจ. มีหุ้นกู้ไร้เรทติ้ง-แจกดอกเบี้ยสูงครบกำหนดดีลปีนี้ มูลค่ารวม 7.5 หมื่นลบ. ส่วนใหญ่เป็นหุ้นอสังหาถึง 24 บริษัท มูลค่ารวม 3.3 หมื่นลบ. พบหุ้นกู้ THAI มูลค่ารวมสูงสุด 5.1 พันลบ. แถมถูกแขวน SP ด้วย ส่วนหุ้นกู้ CGD ให้ยีลด์สูงลิ่ว 7.25 – 7.6% วิจัยเผยระวังหุ้นกู้กลุ่มธุรกิจบริการ – อสังหา – ก่อสร้าง ผิดนัดชำระ เหตุต้นทุนสูงขึ้น แต่รายได้ยังไม่ฟื้นสู่สภาวะปกติ


*** พบ 56 บจ. หุ้นกู้ไร้เรทติ้ง ครบดีลปีนี้

 

ล่าสุด บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (ALL) ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้รุ่น ALL244A (หุ้นกู้ไร้เครดิต เรทติ้ง) งวดที่ 5 จำนวน 10.5 ล้านบาท เมื่อ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา สาเหตุเป็นเพราะ ALL ขาดสภาพคล่องทางการเงิน – มีกระแสเงินสดไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” จึงได้สำรวจข้อมูลจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai Bma) พบ 56 บริษัท หุ้นกู้ไม่มีอันดับเครดิต เรทติ้งรองรับ ครบกำหนดไถ่ถอนปีนี้ มูลค่ารวมกันกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 

 

56 บจ.หุ้นกู้ไร้เรตติ้ง ครบกำหนดปีนี้ มูลค่ารวม 7.5 หมื่นลบ.

ชื่อย่อหุ้น

มูลค่า (ลบ.)

จำนวน (ชุด)

%ดอกเบี้ย

วันครบกำหนด

THAI*

5,153

3

2.74 – 5.16

13 ก.พ./28 ก.พ./30 ส.ค.

PF

4,681

4

6.25 – 7

31 ม.ค./21 ก.พ./10 พ.ค./10 พ.ย.

ITD

4,010

2

5.1 – 5.5

7 มิ.ย./23 มิ.ย.

ANAN

3,092

2

4.45 – 4.5

4 เม.ย./13 มิ.ย.

MTC

3,000

3

2.7 – 3.4

14 ก.พ./25 ก.พ./24 มี.ค.

SAWAD

3,000

2

3.4 – 4.4

29 ม.ค./13 มิ.ย.

A

2,964

3

6.35 – 7

19 ม.ค/11 มี.ค./11 ส.ค.

GRAND

2,911

6

6.85 – 7.5

22 เม.ย./4พ.ค./20 พ.ค./27 ก.ค./29 ก.ค./28 ต.ค.

MK

2,516

3

5.25 – 5.75

28 ก.พ./29 เม.ย./1 ธ.ค.

EP

2,250

3

5.25 – 5.6

1 ต.ค.

THANI

2,200

3

2.65

17 ก.พ./25 ก.พ.

JMT

2,148

2

4

5 มี.ค./2 ก.ย.

JCK

1,967

3

7 – 7.25

15 ก.พ./22 มี.ค./26 ก.ค.

ORI

1,831

2

4 – 4.4

25 มี.ค./3ก.ย.

SENA

1,800

1

4.4

25 ก.พ.

SINGER

1,800

2

5.8 – 5.9

28 พ.ค./11 ก.ย.

NOBLE

1,732

2

4.25 – 4.5

23 เม.ย.

TFG

1,568

2

4.5

30 เม.ย./26 พ.ย.

CGD

1,541

4

7.25 – 7.6

25 มิ.ย./20 ส.ค./6 ก.ย./19 ต.ค.

NVD

1,400

2

6.5 – 6.7

24 มี.ค./17 ธ.ค.

JKN

1,300

3

6.25 – 6.6

9 ม.ค./24 เม.ย./1 ก.ย.

CI

1,239

2

6.25 – 6.7

30 เม.ย. – 29 ธ.ค.

RML

1,238

2

6.3 – 7

15 มิ.ย./11 ต.ค.

PACE*

1,219

1

6.5

23 ก.พ.

ALL

1,202

4

6.5 – 7.5

25 ก.พ./13 พ.ค./9 ต.ค./21 ต.ค.

SUPER

1,179

1

5.5

18 พ.ย.

TSE

1,099

1

4.5

10 เม.ย.

CHEWA

1,066

3

7.25 – 7.5

19 ก.พ./9 ก.ค./24 ธ.ค.

PRIN

1,056

2

5.2 – 5.5

6 ก.พ./2ธ.ค.

BDMS

1,000

1

4.39

10 พ.ค.

LALIN

1,000

2

2.9 – 4.5

14 ก.พ./16 พ.ย.

MBK

1,000

1

3.125

17 มี.ค.

TTW

1,000

1

2.3

1 ก.พ.

MICRO

849

2

5.25 – 5.55

28 พ.ค./29 ต.ค.

AGE

800

1

6.5

26 พ.ย.

NRF

700

1

6.5

23 ก.ค.

JWD

600

1

4

21 ก.พ.

RICHY

591

2

6.8

21 พ.ย./3 ธ.ค.

CMC

550

1

7.25

30 เม.ย.

AQUA

500

1

6

28 พ.ย.

ASW

500

1

5.15

5 พ.ค.

PRIME

500

1

5

16 ก.ย.

CHOW

433

2

7.75

7 พ.ค./20 พ.ค.

PSTC

400

1

5.8

18 เม.ย.

SGF

400

1

6.35

19 ก.ค.

LIT

393

1

5.7

23 มี.ค.

CHO

364

3

7.25 – 7.5

10 เม.ย./29 ส.ค./11 ก.ย.

INET

300

1

5

9 ก.ย.

SQ

300

1

5.5

28 ต.ค.

TNITY

284

2

3.2 – 3.8

26 ม.ค./9 มี.ค.

TRUE

270

1

2.32

9 ก.พ.

GCAP

267

2

7- 7.5

12 มี.ค./18 มี.ค.

SC

250

1

3.2

17 ก.พ.

ECF

200

1

7

9 มิ.ย.

TMI

198

2

6.75

16 มิ.ย./5 ส.ค.

KUN

150

1

6.5

23 เม.ย.

ที่มา : สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)

*ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP เพราะฟื้นฟูกิจการ


*** หุ้นอสังหาติดโผเพียบ มูลค่ารวม 3.3 หมื่นลบ.

 

56 บจ.ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 45 บริษัท และเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 11 บริษัท โดยกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ติดโผมากสุด จำนวน 24 บริษัท มูลค่ารวมกันกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท 

โดย บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) เป็นบริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหา ที่หุ้นกู้ไร้เรตติ่งครบกำหนดดีลปีนี้ มีมูลค่าสูงสุด 4.6 พันล้านบาท จากจำนวนหุ้นกู้ทั้งหมด 4 ชุด โดยให้อัตราดอกเบี้ยสูงระหว่าง 6.25 – 7% ต่อปี 


*** หุ้นกู้ THAI จ่อครบดีล มูลค่าสูงสุด 5.1 พันลบ.

 

ส่วนหุ้นกู้ของ บมจ.การบินไทย (THAI) ที่จะครบกำหนดชำระในปีนี้ มีมูลค่าสูงสุด 5.1 พันล้านบาท จากจำนวนหุ้นกู้ 3 ชุด อัตราดอกเบี้ย 2.74 – 5.16% ต่อปี 

ขณะที่ นอกจาก THAI และ PF ยังมีอีก 4 บริษัท ที่หุ้นกู้ไร้เรตติ้งครบกำหนดชำระปีนี้ มีมูลค่า 3 พันล้านบาทขึ้นไป ประกอบด้วย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) หุ้นกู้มูลค่า 4 พันล้านบาท จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ย 5.1 – 5.5% ต่อปี

ด้าน บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN) มีหุ้นกู้ครบดีลปีนี้ มูลค่า 3 พันล้านบาท จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ย 4.45 – 4.5% ต่อปี, บมจ.เมืองไทย แคปปิตอล (MTC) หุ้นกู้มูลค่า 3 พันล้านบาท จำนวน 3 ชุด อัตราดอกเบี้ย 2.7 – 3.4% ต่อปี และ บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น (SAWAD) หุ้นกู้มูลค่า 3 พันล้านบาท จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ย 3.4 – 4.4% ต่อปี 


*** พบ 5 บจ. หุ้นกู้ทุกชุดให้ดอกเบี้ย 7% ขึ้นไป

 

นอกจากนี้ ยังมีอีก 5 บริษัท ที่หุ้นกู้ไร้เรตติ้ง ครบกำหนดปีนี้ ให้อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 7% ต่อปีทุกชุด ประกอบด้วย บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) ให้อัตราดอกเบี้ย 7.25 – 7.6% ต่อปี, บมจ.ชีวาทัย (CHEWA) ให้อัตราดอกเบี้ย 7.25 – 7.5% ต่อปี

ฟาก บมจ.ช ทวี (CHO) ให้อัตราดอกเบี้ย 7.25 – 7.5% ต่อปี, บมจ.จี แคปปิตอล (GCAP) ให้อัตราดอกเบี้ย 7 – 7.5% ต่อปี และ บมจ.เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล (JCK) ให้อัตราดอกเบี้ย 7 – 7.25% ต่อปี 


*** มี 2 บจ.ถูกแขวน SP เหตุกำลังฟื้นฟูกิจการ

 

อย่างไรก็ตาม จากจำนวน 56 บริษัททั้งหมดที่กล่าวมา มี 2 บริษัท ที่ปัจจุบัน ถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย SP (ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว) เนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ประกอบด้วย บมจ.การบินไทย (THAI) และ บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE)

 

*** EIC แนะระวังหุ้นกู้ 3 กลุ่ม เสี่ยงผิดนัดชำระ

 

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า ภาคธุรกิจบริการ, อสังหาริมทรัพย์ และ ก่อสร้าง มีความเสี่ยงจากการออกหุ้นกู้ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นนี้มากที่สุด แม้ว่าต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ปีที่ผ่านมา จะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 64 เกือบทุกอุตสาหกรรม แต่อุตสาหกรรมที่มีต้นทุนการระดมทุนสูงสุด ได้แก่ ภาคบริการ, อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง

ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการต่ออายุหุ้นกู้ (Roll-over risk) ในปี 66 – 67 ของธุรกิจภาคบริการ, อสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง จะมีความเสี่ยง Roll-over risk สูงขึ้นมาก เนื่องจากมีสัดส่วนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระหนี้มากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคธุรกิจอื่น โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่ม Speculative grade ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงและมีต้นทุนการระดมทุนสูง

ดังนั้น เมื่อพิจารณาสัดส่วนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดอายุในแต่ละปี พร้อมกับแนวโน้มและระยะเวลาการฟื้นตัวของรายได้ธุรกิจแล้ว พบว่าธุรกิจภาคบริการ, อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง Roll-over สูงสุด โดยประเมินว่า รายได้ของธุรกิจภาคบริการจะกลับมาฟื้นตัวเทียบเท่ากับในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 67

ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง จะสามารถฟื้นตัวเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ในปี 67 – 68 ดังนั้น ในช่วง ที่รายได้ของ 3 อุตสาหกรรมดังกล่าว ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และมีการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ต่ำกว่า Investment grade ที่จะครบกำหนดชำระหนี้ในสัดส่วนสูง จะมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้มากที่สุดภายใต้วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น


ส่งหน้านี้ให้เพื่อน