นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโคโรน่าหรือ(โควิด-19)ไปทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกหดตัวลงอย่างแรง และมีผลให้ธุรกิจทุกๆตัวหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในจำนวนนี้ประเทศไทยถือเป็ฯประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักไม่แพ้ประเทศอื่นๆ เนื่องจากธุรกิจในประเทศทุกๆ ตัวแทบหยุดจะงักหลังการประกาศล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจหลายตัวเกิดภาวะหดตัวอย่างหนัก
โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแม้ว่าในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขึ้นในประเทศแต่ผลกระทบดังกล่าวไม่ได้ทำให้ดีมานด์ที่อยู่อาศัยลดลงเลย ขณะเดียวกันยังทำให้ดีมานด์ที่อยู่อาศัยขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวราบ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ แต่ปัญหาสำคัญที่ทำให้ตลาดหดตัว นั้นเกิดขึ้นจากความสามารถในการซื้อของลูกค้าหดตัว หรือกำลังซื้อหด ประกอบกับแบงก์เข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อบ้าน ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยชะลอตัวอย่างหนัก
แน่นนอนว่าการหดตัวของตลาดอสังหา ในช่วง2ปีทีผ่านมาย่อมมีผลต่อความน่าเชื่อถือของตลาดอสังหาไทย หรือมองในมุมของนักลงทุนต่างชาติแล้ว ความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาไทยไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาๆ เนื่องจากตลาดบางส่วนเกิดภาวะโอเวอร์ซับพลายอยู่ แม้อัตราการโอเวอร์ซับพลายจะไม่สูงมาก และยังมีอัตราการระบายออกได้ต่อเนื่องแม้ว่าอัตราการระบายจะไม่มากก็ตาม
ทั้งนี้ จากรายงานดัชนีความโปร่งใสตลาดอสังหาโลกฉบับปี 2565 ของ “เจแอลแอล” ระบุว่า ประเทศไทยยังคงรักษาระดับความน่าเชื่อถือ หรือตำแหน่งตลาดอสังหาที่มีความโปร่งใสอยู่อันดับ 10 ในเอเชียแปซิฟิก และอันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจาก สิงคโปร์และมาเลเซีย โดยรายงานฉบับรายสองปี ของ “เจแอลแอล” ชีชัดว่าคะแนนความโปร่งของตลาดอสังหาไทยปรับดีขึ้นเล็กน้อยจาก 2.64 ในปี 2563 เป็น 2.63 ในปี65นี้ อย่างไรก็ดี อันดับในระดับโลกของไทยปรับลดลง 1 ตำแหน่งจาก 33 ใน 2563 เป็นอันดับที่ 34 ในปี65 เนื่องจากโรมาเนียที่เคยอยู่ในอันดับที่ 35 ในปี 2563 กระโดดขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 32 ในปีนี้
นายไมเคิล แกลนซี กรรมการผู้จัดการเจแอลแอล กล่าวว่า ดัชนีความโปร่งใสของตลาดอสังหาไทยยังคงปรับตัวดีขึ้น
หลังจากที่ได้ขยับออกจากกลุ่มตลาดอสังหาที่โปร่งใสปานกลางขึ้นมาอยู่กลุ่มตลาดโปร่งใส ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ระดับความโปร่งใสของอสังหาไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับโปร่งใสซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของตลาดในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะภายหลังการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในขณะนี้
สำหรับ รายงานดัชนีความโปร่งใสตลาดอสังหา โลกซึ่ง เจแอลแอล จัดทำในทุกๆสองปีเพื่อนำเสนอบรรทัดฐานความโปร่งใสของตลาดอสังหาที่นักลงทุน ผู้พัฒนาโครงการ รวมถึงเจ้าของหรือบริษัทผู้เช่า-ใช้อสังหาสามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยพิจารณาจากหลายแง่มุม เช่น ข้อมูลตลาดที่มีให้เข้าถึงได้โครงสร้างการปกครอง กฎระเบียบและกฎหมาย ขั้นตอนการทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้
ล้วนมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงในการตัดสินใจใดๆ ของนักลงทุนหรือผู้เช่า-ใช้อสังหาริมทรัพย์
ขณะที่ความเชื่อมั่นตลาดตลาดอสังหาไทยมีการปรับตัวดีขึ้นขณะเดียวกันตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยรวมของภูมิภาคก็มีทิศทางไปในทางเดียวกัน ซึ่งเอื้อต่อการขยายตัวของการลงทุนพัฒนาซื้อขาย หรือเช่าใช้อสังหา โดยตลาดของภูมิภาคมีคะแนนดัชนีความโปร่งใสปรับเพิ่มขึ้นในหลายด้านเช่น กฎหมาย ความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และการมีข้อมูลตลาดเปิดเผยมากขึ้นซึ่งทั้งหมดนี้ จะมีส่วนในการช่วยให้สามารถดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้นในอนาคต
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยภาพรวมจะสะท้อนให้เห็นว่าตลาดอสังหาเอเชียแปซิฟิกมีค่าดัชนีความโปร่งใสเพิ่มสูงขึ้น
แต่การปรับเพิ่มขึ้นมีอัตราที่แตกต่างกันไปสำหรับประเทศต่าง ๆ โดย อสังหาญี่ปุ่นนั้นได้ขยับสถานะจากกลุ่มตลาดโปร่งใส ขึ้นไปอยู่ในกลุ่มโปร่งใสสูง จากหลายปัจจัย เช่น การกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์การนำมาตรฐานอาคารต่างๆ เข้ามาใช้ ซึ่งมุ่งเน้นความยั่งยืนมากขึ้นการมีความโปร่งใสมากขึ้นในกระบวนการรายงานความเสี่ยงต่างๆ เกี่ยวสภาพภูมิอากาศ
ส่วนอสังหาสิงคโปร์กำลังขยับใกล้เข้ากลุ่มตลาดโปร่งใสสูงมากขึ้นจากการมีข้อมูลให้เข้าถึงได้ในเชิงลึกและครอบคลุมมากขึ้นอีกทั้งยังมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนด้านความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมขณะที่อสังหา อินเดียติดอยู่ในกลุ่มตลาดอสังหา ที่มีค่าดัชนีความโปร่งใสปรับตัวดีขึ้นมากที่สุดเพราะการลงทุนระดับสถาบันที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น
และการเติบโตของภาคกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาซึ่งส่งเสริมให้มีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
ส่วนอสังหาจีนสถานภาพของการเป็นตลาดอสังหาที่โปร่งใสมีความชัดเจนมากขึ้นตอกย้ำโดยการประกาศใช้มาตรฐานใหม่ด้านประสิทธิภาพอาคารมาตรฐานที่สูงขึ้นเกี่ยวการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึงพัฒนาการที่ดีขึ้นของกระบวนการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมการซื้อขายอสังหา
ด้านแอนโธนี เคาส์ ซีอีโอภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เจแอลแอล กล่าวว่า การปรับตัวของความโปร่งใสในตลาดอสังหาเอเชียแปซิฟิกช่วยให้ภูมิภาคนี้สามารถดึงดูดความสนใจของนักลงทุนได้มากขึ้นและทำให้บริษัทผู้เช่า-ใช้อสังหามีความมั่นใจมากขึ้น คาดว่าในระยะอันใกล้นี้จะมีการลงทุนมากขึ้นในตลาดอสังหาที่มีความพยายามในการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปกป้องการคอบครองอสังหาและกฎระเบียบการทำธุรกรรมซื้อขายเช่า
“เราสังเกตพบว่า ประเด็นเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อันดับความโปร่งใสในตลาดอสังหาดีขึ้นและมีบทบาทต่อการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจอสังหา โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายและการดำเนินแผนงานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ดังนั้น การพัฒนาอสังหา โดยมุ่งเน้นให้มีความยืดหยุ่นและส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ในภูมิภาคนี้สามารถดึงดูดความสนใจในระยะยาวของทั้งนักลงทุนและผู้เช่า-ใช้ประโยชน์ในอสังหาได้”
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของเจแอลแอล ยังพบว่าประเทศและเมืองต่างๆของเอเชียแปซิฟิกที่มีการดำเนินการตามพันธะสัญญาเกี่ยวกับการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้เคยประกาศไว้ด้วยการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอาคารสิ่งปลูกสร้างให้สอดรับกับเป้าหมายภาพกว้างเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์”
โดยมีการใช้ระบบรับรองมาตรฐานอาคารเขียวและอาคารที่เป็นมิตรต่อสุขภาวะของผู้ใช้อาคารอย่างแพร่หลายมากขึ้น
โดยประเทศและเมืองชั้นนำ ได้กำหนดข้อบังคับให้บริษัทต่างๆมีการรายงายผลการดำเนินการด้านความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมและมีการจัดข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอาคารสิ่งปลูกสร้าง
ทั้งนี้ตัวเลขคะแนนดัชนีความโปร่งของตลาดอสังหาไทยที่ปรับดีจาก2.64 ในปี2563 เป็น2.63 ในปี 65 นี้สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติต่อตลาดอสังหาไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากการพัฒนาข้อมูลตลาดที่ผู้ประกอบการไทยสื่อสารกับลูกค้าและเปิดเผยแผนและข้อมูลการพัฒนาโครงการ การก่อสร้าง เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้นประกอบกับโครงสร้างการปกครอง กฎระเบียบและกฎหมาย ขั้นตอนการทำธุรกรรมด้านอสังหา รวมถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่วันนี้ภาคธุรกิจอสังหาพยามยามผลักดัน เช่นการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือการออกแบบอาคารเขียวที่เพิ่มมมากขึ้นทำให้ตัวเลขดัชนีความโปร่งใสอสังหาไทยปรับตัวดีขึ้น
สอดคล้องกับ รายงานแผนกวิจัยซีบีอาร์อี ซึ่งรายงานว่า ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยกลายเป็นตลาดที่น่าจับตามองในปี2565เนื่องจากผู้ให้บริการพื้นที่เช่าสำหรับวางเซิร์ฟเวอร์ระดับภูมิภาคกำลังเริ่มเข้าสู่ตลาดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึงชลบุรี และระยอง ซึ่งเคยเป็นตลาดของผู้ให้บริการในไทย นอกจากนี้ยังพบว่าความต้องการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของระบบคลาวด์คอมพิวติ้งและการใช้โซเชียลมีเดียเป็นปัจจัยให้นักลงทุนสนใจตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มมากขึ้นโดยการลงทุนในตลาดนี้พุ่งสูงขึ้นอย่างสูงในปี2564
นายอาดัมเบลล์ หัวหน้าแผนกพื้นที่อุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาคเช่นSTT และSupernap ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยและมีดาต้าเซ็นเตอร์ที่สามารถรองรับความต้องการระดับไฮเปอร์สเกลที่มากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่นานมานี้ในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
โทรคมนาคม และสายเคเบิลใต้น้ำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเติบโตในอุตสาหกรรมนี้
เมื่อพิจารณาตลาดระดับภูมิภาคการลงทุนโดยตรงในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่ารวม1.7 แสนล้านบาท (4.8พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี2564ซึ่งเพิ่มขึ้นเกินสองเท่าของระดับการลงทุนสูงสุดก่อนหน้าที่7.8 หมื่นล้านบาท (2.2พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี2563 และยังมากกว่าปริมาณการลงทุนในช่วงสี่ปีที่ผ่านมารวมกัน
ปริมาณธุรกรรมและการระดมทุนคาดว่าจะยังคงคึกคักอย่างต่อเนื่องในปี2565โดยดาต้าเซ็นเตอร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นการลงทุนทางเลือกที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นปีที่สามติดต่อกันจากการสำรวจครั้งล่าสุดของซีบีอาร์อีเรื่องแนวโน้มการลงทุนของนักลงทุนด้านอสังหา
การขยายตัวของบริการดาต้าเซ็นเตอร์ เข้าสู่ตลาดอสังหาเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการข้อมูลด้าต้าในการจับพฤติกรรมลูกค้าเพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาสินค้าหรือออกแบบที่อยู่อาศัย รวมถึงการพัฒนาบริการใหม่ที่ตอบรับความต้องการ
และไลฟสไตล์ของลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ แม้ว่าในปัจจุบันบริการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยในตลาดอสังหาจะยังเกิดขึ้นไม่เต็มระบบแต่คาดว่าในไม่ช้าการใช้ดาต้าเซ้นเตอร์นธุรกิจอสังหาจะมีให้เห็นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ในช่วงอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคาดว่าผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาคและระดับโลกจะให้ความสนใจประเทศไทยอย่างต่อเนื่องดาต้าเซ็นเตอร์ คือตลาดที่กำลังเติบโตในประเทศไทยทั้งผู้เช่าพื้นที่และเจ้าของดาต้าเซ็นเตอร์กำลังปรับความคาดหวังในแง่ของการพัฒนาโครงการดาต้าเซ็นเตอร์ให้เกิดขึ้นจริง”